top of page
Search
sherothailand

Sexism in public health การเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศในสถานพยาบาลนั้นมีอยู่จริง

การเลือกปฏิบัติต่อเพศใดเพศหนึ่งเกิดขึ้นในทุกที่ไม่เว้นแม้แต่ในสถานพยาบาล ที่ที่เราทุกคนไม่ว่าจะเพศไหน ก็ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมกับเพศใดเพศหนึ่งในสถานพยาบาลโดยเฉพาะกับเพศหญิงและ LGBTQIAN+ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราควรทุกคนควรให้ความสนใจมากกว่าที่คิด


การเลือกปฏิบัติต่อเพศใดเพศหนึ่งหรือการเหยียดเพศในสถานพยาบาลเกิดขึ้นได้กับทั้งคนไข้ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาล เห็นได้จากการที่คนตรงเพศหรือที่เรียกว่า cisgender / straight หรือ heterosexual มีความกังวลว่าเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลจะเลือกปฏิบัติเพราะเรื่องเพศน้อยกว่าเพศอื่น ๆ และไม่ต้องกลัวว่าจะโดนปฏิเสธการรักษาพยาบาลเพราะเป็น LGBTQIAN+


อีกทั้งคนตรงเพศบริจาคเลือดได้อย่างไม่โดนกีดกัน ไม่ต้องกลัวว่าคนจะรังเกียจเวลาจะจับมือให้กำลังใจกันในระหว่างการฟังผลการรักษา Transgender บางคนยังโดนเหยียด โดนถามคำถามที่ไม่เกี่ยวกับอาการแต่ดันเกี่ยวกับเพศในระหว่างการตรวจหรือวินิจฉัย ไม่หาทางออกให้กับผลข้างเคียงของการแปลงเพศแต่กลับบอกให้หยุดแปลงเพศแทน และตัวอย่างอื่น ๆ อีกมากมายที่เพื่อน ๆ เพศหญิงหรือ LGBTQIAN+ ต้องพบเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในระหว่างรับการรักษาพยาบาล





การเลือกปฏิบัติต่อเพศใดเพศหนึ่งในสถานพยาบาลสร้างผลกระทบต่อการควบคุมโรคมากกว่าที่คิด เพราะ LGBTQIAN+ หลายคนหวาดกลัวการรับการรักษาในสถานพยาบาล ไม่กล้าเข้ารับการตรวจร่างกาย ไม่กล้าตรวจหาเชื้อ HIV ไม่กล้าเข้าไปตรวจเลือดหรือรับยาเพร็พ (PrEP : Pre-Exposure Prophylaxis) เพราะกลัวว่าเจ้าหน้าที่จะรังเกียจหรือปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อระบบสาธารณะสุขในวงกว้าง ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดของ LGBTQIAN+


อีกตัวอย่างของความไม่เท่าเทียมระหว่างเพศที่เห็นได้ชัดเจนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และอาจมีผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขในวงกว้างได้แก่ การที่มีสัดส่วนของเพศหญิงทำงานในสถานพยาบาลมากกว่าเพศชายแต่กลับได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ในอัตราเฉลี่ยที่ไม่ถึง 50% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด


ส่วนในประเทศประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกบางประเทศ เพศหญิงได้รับวัคซีนป้องกันโควิด 19 เฉลี่ยเพียง 46% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น อีกทั้งเพศหญิงและชุมชนผู้มีความเพศหลากหลายทางเพศจำนวนไม่น้อยยังมีไม่สามารถเข้าถึงสาธารณสุขขั้นพื้นฐานได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย


การเลือกปฏิบัติที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่จากเจ้าหน้าที่ต่อคนไข้ แต่จากคนไข้ต่อเจ้าหน้าที่ก็มีเช่นเดียวกัน อย่างการที่คนไข้หลายคนมองว่าพยาบาล ควร จะเป็นเพศหญิง ทำให้หลายคนมองพยาบาลที่เป็นเพศชาย หรือ LGBTQIAN+ มีความน่าเชื่อถือน้อยลง หลายคนปฏิเสธที่จะรับการบริการจากพยาบาลเพศชายและ LGBTQIAN+ รวมทั้งอาจแสดงท่าทีรังเกียจให้เห็นกันอย่างโจ่งแจ้ง


แพทย์ก็เช่นกัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายคนมองว่าแพทย์ที่เก่งจะเป็นเพศชาย หรือแพทย์ที่ตรวจได้ละเอียดและแม่นยำก็ควรจะเป็นเพศหญิง ทั้ง ๆ ที่หน้าที่นี้ ไม่ว่าจะเพศหญิง เพศชาย หรือ LGBTQIAN+ ก็ต่างทำหน้าที่กันอย่างเต็มที่ทั้งนั้น แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับตัดสินความเชี่ยวชาญในวิชาชีพเหล่านี้บนพื้นฐานของ เพศ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของแพทย์เลยแม้แต่น้อย


ทั้งตัวคนไข้ แพทย์ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ในสถานพยาบาลทุกคนควรเริ่มต้นการสร้างความเข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศได้จากตนเอง ค่อย ๆ ยอมรับความหลากหลายทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับ LGBTQIAN+ เรียนรู้ การพูดคุย การแสดงออกกับผู้อื่นอย่างเป็นกลางและไม่ตัดสิน


เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ก็จำเป็นจะต้องรับฟังและให้การรักษาอย่างเป็นเหตุเป็นผล ตรงไปตรงมา ไม่เอาคำว่า เพศ มาตัดสิน สร้างนโยบายเกี่ยวกับไม่เลือกปฏิบัติและความเสมอภาคทางเพศต่อทั้งผู้ร่วมงานและผู้รับบริการให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและนำมาปรับใช้ได้จริง เพราะไม่มีใครสมควรถูกเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม


หากได้รับการรักษาภายในสถานพยาบาลอย่างไม่เป็นธรรม สามารถร้องเรียนได้ที่
สายด่วน สปสช. 1330 (ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
สายด่วน กรม สบส. 1426

แหล่งข้อมูล


Gender Bias in Self-Care is Very Real – and Sometimes Fatal https://www.healthline.com/health/gender-bias-healthcare#takeaway

Racism and Homophobia in Health Care Settings May Reduce PrEP Uptake for Young Black Gay and Bisexual Men, Study Finds



504 views0 comments

Recent Posts

See All

Kommentare


bottom of page